เช่น ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าชดเชย เงินประกัน หรืออื่นไดที่เป็นตัวเงิน และลูกจ้างมีความประสงค์ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ให้ลูกจ้างมีสิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานแห่งท้องที่ที่ลูกจ้างทำงานอยู่หรือที่นายจ้างมีภูมิลำเนาอยู่
ในกรณีที่เกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ถ้าลูกจ้างถึงแก่ความตายให้ทายาทโดยธรรมมีสิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานได้ ให้ลูกจ้างหรือทายาท แจ้งร้องทุกข์ด้วยตนเอง ที่สำนักงานฯ พร้อมเขียนแบบคำร้อง โดยเตรียมเอกสารและข้อมูล ดังนี้
- กรอกแบบฟอร์ม คร.7 (รับแบบฟอร์มที่สำนักงานฯ)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของลูกจ้างผู้ร้อง
- ชื่อนายจ้าง/สถานประกอบกิจการ
- สถานที่ตั้งของที่ทำงานอย่างชัดเจน และหมายเลขเบอร์โทรศัพท์
- วันที่ เดือน ปี พ.ศ. ที่เริ่มทำงาน และวันที่ทำงานวันสุดท้าย รวมถึงรายละเอียดสภาพการจ้าง สภาพการทำงาน
- พฤติกรรมที่นายจ้างทำไม่ถูกต้องตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานต่อลูกจ้าง
- อธิบายเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น
- พยานเอกสาร พยานวัตถุ พยานบุคคล ที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)
ระยะเวลาดำเนินการไม่เกิน 60 วัน
หากมีความจำเป็นไม่อาจมีคำสั่งภายในระยะเวลาดังกล่าวได้ ให้พนักตรวจแรงงานขอขยายเวลาดำเนินการได้ แต่ต้องมีระยะเวลาไม่เกิน 30 วัน
หากผู้ร้องไม่สะดวกที่จะมายื่นคำร้องด้วยตนเอง ผู้ร้องสามารถยื่นคำร้องผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (อินเตอร์เน็ต) ได้ที่ www.labour.go.th
ระเบียบที่เกี่ยวข้อง
- ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานว่าด้วยการรับคําร้องและการพิจารณาคําร้องของพนักงานตรวจแรงงาน พ.ศ. 2542
- ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานว่าด้วยการรับคําร้องและการพิจารณาคําร้องของพนักงานตรวจแรงงาน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2554
- ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง กําหนดแบบคําร้องและแบบคําสั่งพนักงานตรวจแรงงาน พ.ศ. 2551
- พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541


