แบบฟอร์มการร้องเรียน/ร้องทุกข์ คลิกที่นี่
- ให้ลูกจ้างทำงานเกินวันละแปดชั่วโมง
- ไม่จัดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์
- ให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน โดยไม่มีเหตุจำเป็น และ/หรือ ไม่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อน
- ให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุด โดยไม่มีเหตุจำเป็น
- ไม่ให้ลูกจ้างมีเวลาพักระหว่างการทำงาน หลังจากที่ลูกจ้างทำงานมาแล้วไม่เกินห้าชั่วโมง
- ไม่ประกาศวันหยุดตามประเพณีให้ลูกจ้างทราบเป็นการล่วงหน้า (นายจ้างต้องจัดวันหยุดตามประเพณีในปีหนึ่งไม่น้อยกว่าสิบสามวันโดยรวมวันแรงงานแห่งชาติ)
- ไม่ให้ลูกจ้างมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี หลังจากที่ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบหนึ่งปี
- ให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในงานอันตรายต่อสุขภาพ
- ไม่ให้สิทธิลูกจ้างลาตามกฏหมาย
- ให้ลูกจ้างหญิงทำงานเหมืองแร่หรืองานก่อสร้างที่ต้องทำใต้ดิน ใต้น้ำ ในถ้ำ ในอุโมงค์หรือปล่องภูเขา ยกเว้นแต่สภาพของการทำงานไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือร่างกายของลูกจ้าง
- ให้ลูกจ้างหญิงซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ทำงานอันตราย งานเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ที่มีความสั่นสะเทือน งานขับเคลื่อนหรือติดไปกับยานพาหนะ งานยก แบก หาม หาบ ทูน ลาก หรืองานที่ทำในเรือ
- ให้ลูกจ้างหญิงซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ทำงานในระหว่างเวลา 22.00 น. ถึง 06.00 น. ทำงานล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุด
- อื่นๆ ตามสิทธินายจ้างลูกจ้าง
♦ กรณีนายจ้าง/สถานประกอบกิจการไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2544 และกฏกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างเช่น
- ไม่จัดให้มีอุปกรณ์คุ้มครองคงามปลอดภัยส่วนบุคคล เช่น ชุดแต่งกาย รองเท้่า ถุงมือ หมวกนิรภัย เป็นต้น
- ให้ลูกจ้างทำงานในสถานที่มีความร้อนเกินมาตรฐาน
- ให้ลูกจ้างทำงานในที่ที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ ในจุดที่ต้องเสี่ยงอันตรายจากการทำงาน
- ให้ลูกจ้างทำงานในที่มีเสียงดังเกินกว่ามาตรฐานกำหนด
- ไม่จัดฝึกอบรมลูกจ้างก่อนเริ่มทำงานอันตราย หรือทำงานกับเครื่องจักร
- เกิดเหตุประสบอันตรายต่อลูกจ้างซ้ำซ้อน หรือบ่อยครั้ง โดยนายจ้างเพิกเฉยไม่แก้ไขและจัดการการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุซ้ำอีก
- ไม่กระทำการอย่างไดอย่างหนึ่งเพื่อที่จะให้ลูกจ้างปลอดภัยต่อสุขภาพและร่างกายจากการทำงาน
- อื่นๆ ตามพระราชบัญญัตความปลอดภัยฯ
ปรึกษาและร้องเรียนได้ที่สำนักงานสวัสดิการและคุัมครองแรงงานจังหวัดเชียงใหม่ (หรือสำนักงานสวัสดิการฯจังหวัดที่สถานที่ทำงานตั้งอยู่)
ผู้ร้องเรียนอาจไม่เปิดเผยชื่อก็ได้หากเกรงว่าจะทำให้ผู้ยื่นร้องเรียนได้รับผลกระทบ แต้ถ้าผู้ร้องต้องการทราบผลการดำเนินการ ควรแจ้งชื่อที่อยู่ให้ชัดเจน เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้แจ้งผลการดำเนินการให้ทราบ
โดยแจ้งข้อเท็จจริง หรือ พฤติการณ์ของเรื่องที่ร้องเรียนได้อย่างชัดเจนว่าได้รับความเดือดร้อน หรือเสียหายอย่างไร ต้องการให้แก้ไขดำเนินการอย่างไร
และแจ้งชื่อของนายจ้าง ชื่อสถานประกอบกิจการ สถานที่ต้้งและหมายเลขโทรศัพท์ของสถานที่ทำงาน
ร้องเรียนได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 053890472 หรือเดินทางมาร้องเรียนด้วยตนเองที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดเชียงใหม่ ในวันเวลาราชการ
หรือทางโทรสาร จดหมาย หรืออีเมล์ คลิกดูสถานที่ติดต่อ
