
“พนักงานตรวจแรงงาน” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
“สถานประกอบกิจการ” หมายความว่า หน่วยงานแต่ละแห่งของนายจ้างที่มีลูกจ้างทํางาน อยู่ในหน่วยงานและหมายความรวมถึงสํานักงานของนายจ้างและสถานที่ทํางานของลูกจ้าง
“การตรวจสถานประกอบกิจการ” หมายความว่า การที่พนักงานตรวจแรงงานเข้าไปในสถานประกอบกิจการ เพื่อตรวจสภาพการทํางานของลูกจ้างและสภาพการจ้าง สอบถามข้อเท็จจริง ถ่ายภาพ ถ่ายสําเนาเอกสารที่เกี่ยวกับการจ้าง การจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทํางานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด และทะเบียนลูกจ้าง เก็บตัวอย่าง วัสดุหรือผลิตภัณฑ์เพื่อวิเคราะห์เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางาน และกระทําการอย่างอื่นเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงในอันที่จะปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
เพื่อดูแลให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน และคุ้มครองให้ลูกจ้างได้รับสิทธิประโยชน์อย่างน้อยตามที่กฎหมายกำหนด รวมถึงการได้รับสวัสดิการที่ดีจากนายจ้าง
ในกรณีที่มีคําร้องหรือความปรากฏแก่พนักงานตรวจแรงงาน ว่านายจ้างฝ่าฝีนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ให้พนักงานตรวจแรงงานนั้นดําเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงโดยด่วน หากพบว่านายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ให้มีคําสั่งเป็นหนังสือให้นายจ้างปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายและติดตามผลตามคําสั่งนั้นต่อไปกรณีพนักงานตรวจแรงงานดําเนินการตรวจแรงงานตามข้างต้นแล้ว ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ในกรณีดังต่อไปนี้ ให้ดําเนินคดีทางพนักงานสอบสวนโดยเร็ว โดยไม่ต้องมีคําสั่งให้นายจ้างปฏิบัติ
- ความผิดที่มีพฤติการณ์พิเศษ หรือเกิดผลกระทบกับลูกจ้างจํานวนมาก
- ความผิดเกี่ยวกับการใช้แรงงานเด็กโดยมีการทารุณ หน่วงเหนี่ยว กักขัง การบังคับใช้แรงงานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์หรือมีการกระทําความผิดอาญาฐานอื่นรวมอยู่ด้วย
- ความผิดตามมาตรา 16 มาตรา 44 มาตรา 49 และ มาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
- ความผิดตามมาตรา 139 (2) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
- ความผิดตามมาตรา 150 หรือมาตรา 151 วรรคหนึ่ง แห1งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เฉพาะความผิดที่กระทําต่อพนักงานตรวจแรงงาน
- ความผิดตามมาตรา 37 มาตรา 38 มาตรา 39 มาตรา 39/1 วรรคหนึ่ง มาตรา 42 มาตรา 47 หรือมาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งเป็นสาเหตุโดยตรงที่ทําให้ลูกจ้างได้รับอันตรายสาหัส หรือถึงแก่ความตาย
ความปลอดภัยในการทํางาน พ.ศ. 2554 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
วัตถุประสงค์ของการตรวจแรงงาน
- เพื่อคุ้มครองให้ลูกจ้างได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน โดยให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้อง สม่ำเสมอ และด้วยความสมัครใจ
- เพื่อส่งเสริมให้นายจ้างปรับปรุงสภาพการจ้าง สภาพการทำงาน และสวัสดิการที่ดีขึ้น
- เพื่อให้คำแนะนำและให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับกฎหมาย แนวปฏิบัติและข่าวสารที่เกี่ยวข้องเพื่อเข้าใจวัตถุประสงค์และเห็นประโยชน์ที่ทั้งนายจ้าง ลูกจ้าง จะได้รับจากการปฏิบัติตามกฎหมาย
- ศึกษารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสภาพการทำงาน สภาพการจ้าง ปัญหาอุปสรรคต่างๆ ในการปฏิบัติตามกฎหมายและมาตรฐานแรงงานต่างๆ เพื่อประกอบการวิเคราะห์หาแนวทาง แก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และพัฒนาการคุ้มครองแรงงานให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
- ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้าง ลูกจ้าง ให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในการ ทำงาน ลดความขัดแย้ง และมีความมั่นคงในการทำงานยิ่งขึ้น
ความสำคัญของการตรวจแรงงาน คือ การทำให้ลูกจ้างรู้ถึงสิทธิและหน้าที่ของตนเอง และการแนะนำนายจ้างให้ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานได้อย่างถูกต้อง ทำให้ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์จากการบริหารกฎหมายได้อย่างทั่วถึง
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
- พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
- คำสั่งกระทรวงแรงงาน ที่ 323/2557 เรื่อง แต่งตั้งพนักงานตรวจแรงงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
- คำสั่งกระทรวงแรงงาน ที่ 159/2558 เรื่อง แต่งตั้งพนักงานตรวจแรงงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
- คำสั่งกระทรวงแรงงาน ที่ 331/2558 เรื่อง แต่งตั้งพนักงานตรวจแรงงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
- คำสั่งกระทรวงแรงงาน ที่ 33/2560 เรื่อง แต่งตั้งพนักงานตรวจแรงงานตามพระราชบัญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
- ระเบียบกระทรวงแรงงาน ยกเลิกระเบียบกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมว่าด้วยการตรวจสถานประกอบกิจการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2546
- ระเบียบกรมฯ ว่าด้วยการตรวจสถานประกอบกิจการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2546
- ระเบียบกรมฯ ว่าด้วยการตรวจสถานประกอบกิจการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558
- ระเบียบกรมฯ ว่าด้วยการตรวจสถานประกอบกิจการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559
- ระเบียบกรมฯ ว่าด้วยการตรวจสถานประกอบกิจการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2558